แผนการสอน โครงสร้างคอมพิวเตอร์
Digital logic | OS | คำสั่งดอส | Batch | Debug | Assembly | GWBasic | Docker |

    จุดประสงค์รายวิชา
  1. เข้าใจระบบตัวเลขที่ใช้แทนข้อมูล และคำสั่งในเครื่องคอมพิวเตอร์
  2. เข้าใจโครงสร้างระบบ และภาษาเครื่อง
  3. เข้าใจหน่วยประมวลผล และหน่วยความจำ แบบจำลองของเครื่อง
  4. เข้าใจโปรแกรมภาษาแอสเซมบลี้ การทำงานกับโปรแกรมควบคุมระบบ
  5. เข้าใจอุปกรณ์ตรรกโปรซีเดอร์สำหรับอ่าน/เขียนข้อมูล
  6. เข้าใจระบบแฟ้มข้อมูลเบื้องต้น
  7. เข้าใจการใช้บัฟเฟอร์หลายอัน
  8. เข้าใจรูปแบบ และชนิดของคำสั่งภาษาแมคโครแอสเซมบลี้
  9. เข้าใจการเชื่อมโยงส่วนจำเพาะ (Module linking)
  10. เข้าใจพื้นฐานของโปรแกรมควบคุมระบบ

    แผนการสอน (Lesson Plan)
  1. ความเป็นมาของหน่วยประมวล และหน่วยความจำในยุคต่าง ๆ
    1. ไมโครโปรเซสเซอร์ 8088, 8086 (ยุค XT)
    2. ไมโครโปรเซสเซอร์ 80286, 80386, 80486 (ยุค AT)
    3. ไมโครโปรเซสเซอร์ Pentium, 80586 ..
  2. โครงสร้าง หรือส่วนประกอบระบบคอมพิวเตอร์
    1. หน่วยความจำ
    2. หน่วยคำนวณ
    3. หน่วยควบคุม
    4. หน่วยแสดงผล
    5. หน่วยรับข้อมูล
  3. ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
    1. DOS
    2. Windows
    3. Linux
  4. คำสั่งในเครื่องคอมพิวเตอร์
    1. คำสั่งภายใน
    2. คำสั่งภายนอก
  5. ระบบเลขที่ใช้แทนข้อมูล
    1. ระบบเลขฐาน 10, 2, 16 และอื่น ๆ
    2. การบวก-ลบ เลขฐาน
  6. ระบบแฟ้มข้อมูลเบื้องต้น
    1. Bit
    2. Byte or character
    3. Field
    4. Record
    5. File
  7. สอบกลางภาค
  8. การกระทำทางตรรกศาสตร์
    1. and, nand, or, nor, xor
    2. shift left, shift right, rotate, complement
  9. Register และ Interrupt ของ DOS
  10. การใช้โปรแกรม debug เบื้องต้น
    1. การเรียกแฟ้มเดิมมาแก้ไข
    2. การสร้างโปรแกรม หรือแฟ้มใหม่
    3. การดูโปรแกรม .com ในรูปภาษา assembly
  11. การเขียนโปรแกรม assembly ด้วย debug
  12. การเขียน Batch file เบื้องต้น
  13. การใช้ Batch file ร่วมกับโปรแกรมที่พัฒนาด้วย debug
    1. สร้างโปรแกรม backup
    2. สร้างโปรแกรม menu
  14. การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา assembly ด้วย Macro assember
    1. พื้นฐานของโปรแกรมควบคุมระบบ
    2. การเชื่อมโยงส่วนจำเพาะ (Module linking)
  15. สอบปลายภาค
การประเมินผลการเรียน
คะแนนรวม100 คะแนน
จิตพิสัยกลาง10 คะแนน
โครงงานประจำวิชา10 คะแนน
การฝึกภาคปฏิบัติ20 คะแนน
สอบกลางภาค15 คะแนน
สอบปลายภาค45 คะแนน

    แผนการสอน (เดิม):
    (ที่ยังไม่สมบูรณ์ เพราะกำลังหาข้อมูลเตรียมสอนภาคเรียนที่ 2/2546)
  1. ความเป็นมาของไมโครโปรเซสเซอร์ในยุคต่าง ๆ
    1. ไมโครโปรเซสเซอร์ 8088, 8086 (ยุค XT)
    2. ไมโครโปรเซสเซอร์ 80286, 80386, 80486 (ยุค AT)
    3. ไมโครโปรเซสเซอร์ Pentium, 80586 ..
  2. ระบบของไมโครคอมพิวเตอร์
    1. หน่วยความจำ
    2. หน่วยคำนวณ
    3. หน่วยควบคุม
    4. หน่วยแสดงผล
    5. หน่วยรับข้อมูล
  3. ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
    1. DOS
    2. Windows
    3. Linux
  4. การทำงานของระบบปฏิบัติการ DOS
    1. ROM-BIOS
    2. io.sys, msdos.sys. config.sys
    3. command.com, autoexec.bat
  5. หลักการทำงานของ DOS และคำสั่งต่าง ๆ
    1. คำสั่งภายใน
    2. คำสั่งภายนอก
  6. ระบบเลขฐาน
    1. ระบบเลขฐาน 10, 2, 16 และอื่น ๆ
    2. การบวก-ลบ เลขฐาน
  7. การกระทำทางตรรกศาสตร์
    1. and, nand, or, nor, xor
    2. shift left, shift right, rotate, complement
  8. สอบกลางภาค
  9. Register และ Interrupt ของ DOS
  10. การใช้โปรแกรม debug เบื้องต้น
    1. การเรียกแฟ้มเดิมมาแก้ไข
    2. การสร้างโปรแกรม หรือแฟ้มใหม่
    3. การดูโปรแกรม .com ในรูปภาษา assembly
  11. การเขียนโปรแกรม assembly ด้วย debug
  12. การเขียน Batch file เบื้องต้น
  13. การใช้ Batch file ร่วมกับโปรแกรมที่พัฒนาด้วย debug
    1. สร้างโปรแกรม backup
    2. สร้างโปรแกรม menu
  14. การเขียนภาษา assembly ด้วย Macro assember
  15. การเขียนโปรแกรมแบบ .exe และ .com
  16. การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา assembly
  17. สอบปลายภาค

    แผนการสอนของ : http://202.29.8.8/~nong/assembly/ (expired)
  1. Introduction
  2. ระบบเลขฐานต่าง ๆ
  3. ไมโครโปรเซสเซอร์ 8088
  4. คำสั่งปฏิบัติการ 8088
  5. คำสั่งประมวลผลทางคณิตศาสตร์
  6. คำสั่งปฏิบัติการบิตและตัวอักษร
  7. คำสั่งควบคุม
  8. Interrupt&คำสั่งเทียม
  9. Dos Interrupt
  10. Macro
  11. - การเขียนโปรแกรมผ่าน port RS232
  12. - สรุปคำสั่งดีบัก

    แผนการสอน : http://www.cpe.ku.ac.th/~jtf/204221/
    Lecturer: Jittat Fakcharaoenphol
  1. ระบบไมโครคอมพิวเตอร์
  2. ระบบจำนวน และ การคำนวณ
  3. ภาษาคอมพิวเตอร์และการแปลภาษาคอมพิวเตอร์
  4. สถาปัตยกรรมของไมโครโปรเซสเซอร์ตระกูล 80x86
  5. คำสั่งโอนย้ายข้อมูล
  6. แฟล็กและคำสั่งคณิตศาสตร์
  7. โปรแกรมภาษาแอสเซมบลี้ (1)
  8. การประกาศข้อมูล (โปรแกรมภาษาแอสเซมบลี้ (2) )
  9. คำสั่งกระโดดและการกระทำซ้ำ
  10. โครงสร้างควบคุม
  11. โปรแกรมย่อยขั้นต้น
  12. การกระทำระดับบิต
  13. แบบการอ้างแอดเดรส
  14. การโปรแกรมเชื่อมต่อกับอุปกรณ์รอบข้าง
  15. โปรแกรมย่อยและแสต็ก
  16. คำสั่งจัดการกับสายข้อมูล
  17. คำสั่งเปิดตารางและการสร้างมาโคร
    Book referenced ::
  1. # ระบบคอมพิวเตอร์และภาษาแอสเซมบลี, (ธีรวัฒน์ ประกอบผล)
  2. ทฤษฏีไมโครคอมพิวเตอร์, บัณฑิต จามรภูติ, (#บัณฑิต)
  3. แอดวานซ์แอสเซมบลี, กิตติ องค์คุณารักษ์, (#กิตติ
  4. ภาษาแอสเซมบลี, กำธร พานิชปฐมพงษ์ และ ชูชัย ธนสารตั้งเจริฐ, (#กำธร)
  5. กลวิธีการโปรแกรมภาษาแอสเซมบลี, วิริ พงษ์แจ้ง, 2537 (#วิริ)
คำอธิบายรายวิชา (Course description)

    CPSC 317 หรือ CPSC 214
    หลักการภาษาชุดคำสั่ง
    (Principles of programming languages)

    ทฤษฎีของการออกแบบ และสร้างภาษา แนวคิดเกี่ยวกับภาษาฟอร์มัล รูปแบบ และคุณลักษณะทางไวยากรณ์เบื้องต้น ชนิด และโครงสร้างของข้อมูล โครงสร้างของการควบคุม และการเคลื่อนที่ของข้อมูล การพิจารณาเวลาในการประมวลผล อัลกอริทึมแบบขนาน การออพติไมซ์ การออกแบบ และสร้างลักษณะต่าง ๆ ของภาษา ลักษณะเฉพาะของภาษาแบบโครงสร้างบล๊อก แบบมอดูลาร์ แบบเชิงวัตถุ ประเภทของภาษาชุดคำสั่ง แบบกำหนดกระบวนการ และแบบไม่กำหนดกระบวนการ การวิเคราะห์ประโยคคำสั่งของภาษาคอมพิวเตอร์ ฝึกปฏิบัติการเขียน และทดสอบโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาล ภาษาซี หรือภาษาระดับสูงอื่น ๆ

    CPSC 213
    โครงสร้างคอมพิวเตอร์ และภาษาแอสเซมบลี้
    (Computer Organization and Assembly Language)

    ระบบตัวเลขที่ใช้แทนข้อมูลและคำสั่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงสร้างระบบและภาษาเครื่อง หน่วยประมวลผลและหน่วยความจำ แบบจำลองของเครื่อง โปรแกรมภาษาแอสเซมบลี้ การทำงานกับโปรแกรมควบคุมระบบ อุปกรณ์ตรรกโปรซีเตอร์สำหรับอ่าน/เขียนข้อมูล ระบบแฟ้มข้อมูลเบื้องต้น การใช้บัฟเฟอร์หลายอัน รูปแบบและชนิดของคำสั่ง ภาษาแมคโครแอสเซมบลี้ การเชื่อมโยงส่วนจำเพาะ (Module linking) พื้นฐานของโปรแกรมควบคุมระบบ เช่น การจัดจังหวะประสาน มัลติโปรแกรมมิ่ง เทคนิคหน่วยความจำเสมือน

    CPSC 211
    วิทยาการคอมพิวเตอร์
    (Computer science)

    หลักการเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง หลักการออกแบบโปรแกรม การแทนข้อมูลแบบต่าง ๆ นิพจน์โครงสร้างแบบบล็อก แถวลำดับ ฟังก์ชัน และโปรแกรมย่อย โครงสร้าง และการประมวลผลแฟ้มข้อมูลแบบต่าง ๆ โครงสร้างข้อมูลเบื้องต้น การเรียกซ้ำ การเรียงลำดับ การค้นหา และการผสานข้อมูล ฝึกปฏิบัติการเขียน และทดสอบโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาล ภาษาซี หรือภาษาระดับสูงอื่น ๆ

    CPSC 101
    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์
    (Introduction to computer programming)

    องค์ประกอบ และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ตรรก และการแก้ปัญหา ข้อมูล และรหัสที่ใช้แทนข้อมูลศึกษาพื้นฐานหลักการเขียนโปรแกรม การวิเคราะห์งาน การเขียนผังงาน การเขียนโปรแกรม และการนำเสนอการทดสอบโปรแกรม สภาพการผิดพลาดของโปรแกรม การบันทึก และการประมวลผลแฟ้มข้อมูลเบื้องต้น ฝึกปฏิบัติการเขียน และทดสอบโปรแกรมด้วยภาษาปาสคาล ภาษาซี หรือภาษาระดับสูงอื่น ๆ
    http://science.yonok.ac.th