กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. 2523. “การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย”, แนวทางการพัฒนาจริยธรรมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา. --- จากการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย ของกรมวิชาการ (กรมวิชาการ, 2523) ได้ข้อสรุปจากผลการประชุม กำหนดคุณลักษณะด้านจริยธรรมของคนไทย ซึ่งเป็นพฤติกรรมหรือตัวบ่งชี้ที่พึงประสงค์ ไว้ 10 ประการดังนี้ 1. มีระเบียบวินัย 2. มีความซื่อสัตย์ สุจริต และยุติธรรม 3. ขยัน ประหยัด และยึดมันในสัมมาชีพ 4. สํานึกในหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ 5. รู้จักคิดริเริ่ม วิจารณ์ และตัดสินใจอยางมีเหตุผล 6. กระตือรือร้นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย รักและเทิดทูนชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 7. มีพลานามัยสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ 8. รู้จักพึ่งตนเองและมีอุดมคติ 9. มีความภาคภูมิและรู้จักทํานุบํารุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ 10. มีความเสียสละ เมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และสามัคคีกัน ซึ่งทั้ง 10 ประการดังกล่าวควรปลูกฝังให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น นักศึกษาและประชาชน + data.lit.ac.th/...pdf --- ศักดิ์ชัย นิรัญทวี (2524: 82-84) ได้กล่าวถึง จริยธรรมของสังคมไทย ซึ่งบรรจุไว้ในหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 มีทั้งหมด 29 ประการ ประกอบด้วย 1. การไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกายของบุคคลและสัตว์ 2. ความเมตตากรุณา 3. การไม่โลภและไม่ขโมย 4. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ 5. การไม่ละเมิดของรักผู้อื่น 6. การรู้จักความพอดี 7. การไม่พูดปด ไม่บิดเบือน ไม่อำพรางความจริง การไม่ยุยงให้เกิดความแตกแยกและการไม่พูดคำหยาบ 8. การมีสัจจะ และความจริงใจ 9. การไม่ลวง และเสพสิ่งเสพติดให้โทษ 10. ความเป็นผู้มีสติ รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้สึกผิดชอบชั่วดี 11. ความเป็นผู้มีเหตุผล 12. ความละอายและความเกรงกลัวต่อการกระทำชั่ว 13. ความขยันหมั่นเพียร 14. ความอดทนอดกลั้น 15. ความกล้าหาญและความเชื่อมั่นในตนเอง 16. ความกตัญญูกตเวที 17. ความซื่อสัตย์สุจริต 18. การทำใจให้สงบ มีสมาธิ และอารมณ์แจ่มใส 19. ความไม่เห็นแก่ตัว 20. ความประณีตละเอียดถี่ถ้วน 21. ความรับผิดชอบ 22. ความมีน้ำใจเป็นธรรม ไม่ลำเอียง 23. ความมีระเบียบวินัยและการตรงต่อเวลา 24. การยอมรับความเปลี่ยนแปลง 25. มารยาทและนิสัยส่วนบุคคลในการกิน นอน ขับถ่าย แต่งกาย และสังคมระหว่างเพศ 26. มารยาทในการแสดงความเคารพ การขออภัย การแสดงความขอบคุณ การขอความช่วยเหลือ การปฏิเสธ การแสดงความไม่เห็นด้วย การแสดงความยินดี การแสดงความเสียใจ การเล่น การพักผ่อนหย่อนใจ 27. หลักธรรมสำหรับการอยู่ร่วมกัน ได้แก่ ความสามัคคี ความเสียสละ การให้อภัย ความเอื้อเฟื้อ การยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่น ความเห็นอกเห็นใจ 28. ความเป็นผู้มีวัฒนธรรม และปฏิบัติตามประเพณีนิยม 29. ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ + eresearch.library.ssru.ac.th/..%29.pdf --- จริยธรรม 29 กลุ่ม ของ ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี และพระราชวรมุนี พบว่า ถูกอ้างอิงใน จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย ของ นายสมโภชน์ ทรงพิพัฒน์ สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ.2552 ลิขสิทธิ์ของสถาบันพระปกเกล้า หน้าที่ 6 - 14 มีนิยาม และตัวอย่าง ที่ชัดเจน + kpi-lib.com/...?id=13385 + kpi-lib.com/...pdf --- ลักษณะการปฏิบัติและลักษณะความคิดที่จัดเป็นคุณธรรมนั้นมีสภาพเป็นอยู่มากมาย จึงได้มีการจัดกลุ่มคุณธรรมหลักขึ้น เพื่อสะดวกในการทำความเข้าใจลักษณะคุณธรรมในระดับต่าง ๆ ดังลักษณะคุณธรรมที่ได้รวบรวมมาจากผล การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย ในส่วนของนโยบายและการพัฒนาเด็กระยะยาวด้านจริยธรรม จากแนวคิดของสาโรช บัวศรี และพระราชวรมุนี ดังต่อไปนี้ ๑. การรักความจริง การไม่พูดปดและไม่ฉ้อฉล การรักษาคำมั่นสัญญา ๒. การไม่เบียดเบียนกัน การรักษาสิทธิและความชอบธรรมของผู้อื่น ๓. ความละอายใจต่อการกระทำความผิดหรือความชั่วใด ๆ ๔. ความรู้จักพอ ความไม่โลภ ไม่หลง และการจัดการชีวิตตนโดยสันโดษ ๕. การรู้จักบังคับใจตนเอง ๖. ความรับผิดชอบต่อสังคม ๗. ความเสมอภาค ๘. ความเสียสละ ๙. ความซื่อสัตย์ ๑๐. ความกล้า ๑๑. การมีแนวความคิดกว้าง ๑๒. ความสามัคคี ๑๓. ความเข้าใจในศาสนา และการใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ๑๔. ความมีเมตตา กรุณา และการให้อภัย ๑๕. ความพากเพียรและอดทน ๑๖. การรู้จักค่าของการทำงาน ๑๗. การรู้จักค่าของทรัพยากร ๑๘. ความมีสติสัมปชัญญะ ๑๙. การรู้จักใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา ๒๐. การมีสัมมาอาชีวะ ๒๑. การมีคาวรธรรม ๒๒. การมีสามัคคีธรรม ๒๓. การมีปัญญาธรรม ๒๔. ความไม่ประมาท ๒๕. ความกตัญญูกตเวที ๒๖. การรักษาระเบียบวินัย ๒๗. การประหยัด ๒๘. ความยุติธรรม ๒๙. การมีมรรค ๘ ซึ่งจัดเป็น ๓ สาย คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ในข้อเท็จจริงจะเห็นได้ว่า การจัดลักษณะคุณธรรมที่กล่าวมานั้น มีบางส่วนที่ซ้ำซ้อนกัน ดังนั้นจะได้จัดกลุ่มคุณธรรมหลักเป็น ๑๙ กลุ่ม คือ ๑. ความมีเหตุผล (rationality) ๒. ความซื่อสัตย์สุจริต (honesty) ๓. ความอุตสาหะ หรือการมีความตั้งใจอันแน่วแน่ (resolution) ๔. ความเมตตากรุณา (compassion) ๕. ความเสียสละ (devotion) ๖. ความสามัคคี (cooperation) ๗. ความรับผิดชอบ (responsibility) ๘. ความกตัญญูกตเวที (gratitude) ๙. ความประหยัด (moderation) ๑๐. ความรู้จักพอ (satisfaction) ๑๑. ความมีสติสัมปชัญญะ (awareness) ๑๒. ความมีระเบียบวินัย (discipline) ๑๓. ความยุติธรรม (fairness) ๑๔. ความอดทนอดกลั้น (endurance) ๑๕. ความเคารพนับถือผู้อื่น (consideration) ๑๖. ความไม่เห็นแก่ตัว (selflessness) ๑๗. ความถ่อมตัว (modesty) ๑๘. ความกล้าทางคุณธรรม (courage) ๑๙. ความเคารพตนเอง (self-respect) + trueplookpanya.com