อัพโหลดภาพบทคัดย่อแบบ .png ที่มีตัวอักษรชัดเจน
เข้า Google drive ใน My Drive
แล้ว Right click เลือก Open with, Google Docs
พบว่ามีกระบวนการแปลงภาพอักษร เป็น character ได้อย่างสมบูรณ์
แต่การ copy ใน pdf ไป paste จะมีสระกระโดดบ้างเล็กน้อย
0901_01.pdf
|
ตัวอย่างบทความ
ยุรนันท์ ตามกาล. (2557).
บ้าน วัด โรงเรียน กับการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว.
Journal of Human Resources Intelligence, 9(1), 12-31.
บทคัดย่อ
บทความเรื่อง บ้าน วัด โรงเรียน กับการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว
เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนในการส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว
ซึ่งในบทความนี้นําเสนอผลการวิจัยในวัตถุประสงค์สองประการ ได้แก่ ประการที่หนึ่ง การศึกษาวิธีการและเนื้อหาในการส่งเสริม
ความเข้มแข็งของครอบครัวของบุคลากรของบ้าน วัด และโรงเรียนในชุมชนที่มีวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนที่ไม่มี
วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ประการที่สอง การศึกษาแนวทางในการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรของ บ้าน วัด และโรงเรียน
ในการส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากร
ของ บ้าน วัด โรงเรียน ในชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และชุมชนใกล้เคียงที่ไม่ได้เป็น
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ใน 4 พื้นที่ (ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้) รวม 8 ชุมชน
และ การสนทนากลุ่มร่วมกันของบุคลากรทั้งสามฝ่ายของทั้งสองชุมชนในแต่ละพื้นที่ โดยพื้นที่ที่ทําการศึกษาได้แก่ ภาคเหนือ ชุมชน
บ้านแม่ใสกลาง หมู่ 2 ตําบลแม่ใส อําเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และชุมชนบ้านแม่ใสเหนือ หมู่ 9 ตําบลแม่ใส อําเภอ เมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
ภาคกลาง ชุมชนบ้านบางสะแก หมู่ 6 ตําบลบางสะแก อําเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
และ ชุมชนบ้านบางสะแก หมู่ 4 ตําบลบางสะแก อําเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชุมชนบ้านบึง สวางค์ หมู่ 5 ตําบลบึงเนียม อําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
และชุมชนบ้านบึงใคร่นุ่น หมู่ 2 ตําบลบึงเนียม อําเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
ภาคใต้ ชุมชนบ้านห้วยเหรียง หมู่ 7 ตําบลกระบี่น้อย อําเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
และ ชุมชนบ้านเขาตั้ง หมู่ 8 ตําบลกระบี่น้อย อําเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
ผลการศึกษาพบว่า วิธีการและเนื้อหาการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวที่บ้าน วัด โรงเรียน
มีนั้น มักเป็นลักษณะ ของการส่งเสริมตามภาระหน้าที่บทบาทของสถาบัน ส่วนใหญ่เป็นไปตามนโยบายของรัฐอยู่แล้ว
จึงทําให้มีวิธีการและเนื้อหา เหมือนหรือใกล้เคียงกันทุกพื้นที่ ทั้ง 4 พื้นที่ 8 ชุมชน
และยังไม่ได้มีนโยบายที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานครอบครัวเข้มแข็งอย่าง ชัดเจน ในประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียง
กับการส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัวนั้น ไม่พบความเชื่อมโยง ดังกล่าวในลักษณะที่เป็น "ความตั้งใจ” หรือ “นโยบาย"
ในระดับชุมชนที่จะใช้หลักวิถีเศรษฐกิจพอเพียงมาช่วยส่งเสริมให้ เกิดความเข้มแข็งของครอบครัว แต่ที่พบว่ามีอยู่แล้วในชุมชนในพื้นที่ที่ศึกษา
คือ ผลผลิตและผลพลอยได้ของวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ในรูปของกิจกรรมทางการเกษตรหรือกิจกรรมอื่นๆ ไปช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวในบางประการ
ซึ่งในผลการ ศึกษายังพบปัญหาและอุปสรรคของการที่ บ้าน วัด โรงเรียน จะใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมความเข้มแข็งของ ครอบครัวด้วย
และตอนท้ายของการศึกษาได้เสนอแนวทางการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว สําหรับ บ้าน วัด และโรงเรียน
ซึ่งมีที่มาจากการสนทนากลุ่มร่วมกันของบุคลากรทั้งสามสถาบัน คําสําคัญ : บวร, บ้าน วัด โรงเรียน, วิถีเศรษฐกิจพอเพียง, ความเข้มแข็งของครอบครัว
|
|