thaiall logomy background
การรักษาพยาบาลโรค thairheumatology77
my town
โรคภัยไข้เจ็บ | การปฐมพยาบาล | อาหารที่ต้องพึงระวัง | ผู้สูงอายุ
?>
♥ อาการปวดไหล่
ข้อไหล่ของเราประกอบไปด้วยกระดูก 3 ชิ้น คือ กระดูกต้นแขน กระดูกสะบัก และกระดูกไหปลาร้า มาประกอบกันเป็นข้อ ข้อไหล่เป็นข้อที่มีการเคลื่อนไหวได้มากที่สุดในร่างกาย และเป็นข้อที่ถูกใช้งานมาก จึงทำให้มีปัญหาได้ อาการปวดไหล่เกิดจากอะไรได้บ้าง ?
อาการปวดไหล่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เป็นได้ตั้งแต่เด็กจนโต สาเหตุของการปวดไหล่ที่พบบ่อยมีดังนี้
1. ในวันเด็กและวัยรุ่น อาการปวดไหล่มักจะมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
2. ในวัยหนุ่มสาว อาการปวดไหล่มักมีความสัมพันธ์กับการใช้ข้อไหล่ทำงานอย่างมาก ทำให้มีการเสียดสีและอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ ข้อไหล่
3. ในวัยกลางคนและวัยสูงอายุ อาการปวดไหล่มักมีสาเหตุมาจากการเสื่อม อันเป็นผลมาจากการใช้ข้อไหล่ทำงานมาก
4. ข้อไหล่อักเสบ เป็นผลมาจากโรคข้ออักเสบที่มีข้อไหล่อักเสบร่วมด้วยได้ เช่น โรครูมาตอยด์ เป็นต้น
5. อาการปวดไหล่ที่เป็นผลมาจากการปวดร้าวหรือมีการอักเสบบริเวณอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง เช่น กระดูกคออักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ โรคของหัวใจ โรคตับ เป็นต้น
6. อาการปวดอันเป็นผลมาจากการกระจายของมะเร็งมาที่กระดูกต้นแขน
วงจรของข้อไหล่ติดเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ข้อไหล่เป็นข้อที่มีการเคลื่อนไหวได้มากที่สุดก็จริง แต่มีจุดอ่อนคือ เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นและข้อไหล่ไม่ได้เคลื่อนไหวแล้ว จะมีใยพังผืดมาจับบริเวณข้อไหล่ ทำให้ข้อไหล่ติดและเคลื่อนไหวได้ลำบาก เมื่อมีอาการปวดและไม่ยอมเคลื่อนไหวข้อไหล่ ก็จะมีพังผืดมาเกาะมาก ๆเข้า เป็นผลให้ข้อไหล่ติดแข็งและเคลื่อนไหวไม่ได้
สัญญาณอันตรายของอาการปวดไหล่มีอะไรบ้าง ?

เมื่อมีอาการปวดไหล่ร่วมกับอาการต่อไปนี้ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์
1. มีข้อไหล่บวม
2. มีอาการปวดมานานกว่า 2 สัปดาห์
3. มีอาการปวดร่วมกับการเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ไม่เต็มที่
4. มีอาการชาของแขน หรือมีอาการเย็น หรือเปลี่ยนสีของผิวหนังบริเวณแขนร่วมด้วย
5. มีอาการอื่น เช่น ไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดร่วมด้วย เป็นต้น
แพทย์จะรักษาอาการปวดไหล่อย่างไรบ้าง ?
แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายก่อน ในรายที่จำเป็นอาจต้องการการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัย การรักษาอาการปวดไหล่
1. ในรายที่มีอาการปวดมากควรหยุดการพักการใช้ข้อไหล่ แต่ไม่ควรจะหยุดนานเนื่องจากจะทำให้ข้อไหล่ติด
2. ควรใช้ความร้อนประคบ อาจเป็นกระเป๋าน้ำร้อนก็ได้ เพื่อช่วยลดความเจ็บปวด การใช้ความร้อนประคบควรหลีกเลี่ยงในรายที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อบริเวณข้อ
3. การใช้ยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
4. การบริหารไหล่ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเพื่อป้องกันไหล่ติด (ศึกษาวิธีการบริหารไหล่ได้จากเอกสารการบริหารร่างกาย)
ข้อมูลจาก : http://www.thairheumatology.org/people01.php?id=77
ข้อมูลนี้เป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้น
ควรพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป
ก่อนหน้า : อาการปวดคอ
tools
ความหมายของสุขภาพ
Health Meaning
สุขภาพ เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการไม่เป็นโรค สุขภาพเป็นความสมบูรณ์ของคนใน 4 มิติ คือ 1) ร่างกาย 2) จิตใจ 3) สังคม และ 4) วิญญาณ (ปัญญา) หากสมบูรณ์อย่างสมดุลแล้ว ก็เรียกว่า สุขภาวะ ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก
สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ และสังคม รวมทั้งการปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งทางกายและทางใจ สุขภาพที่ดีมีส่วนทำให้ชีวิตของเรามีความสุข
สุขภาพ หมายถึง ระดับของประสิทธิภาพเชิงการทำงาน หรือเชิงเมตาบอลิกของสิ่งมีชีวิต และตามนิยามขององค์การอนามัยโลก หมายถึง สภาวะอันสมบูรณ์ของภาวะทางกาย จิต จิตวิญญาณ และสังคมของบุคคล อันมิได้หมายถึง ความปราศจากโรคหรือความบกพร่องเพียงอย่างเดียว (wiki)
Thaiall Products :: HTML Validity :: CSS Validity :: CheckLink :: DeadLink :: PageSpeed :: Keyword Position :: Google :: Truehits
Thaiall.com